2014 year of future

Sunsweet yearly meeting
At thaipanich samerng chiangmai 
December 3-4,2013

บัญญัติsunsweet

เจ้าสุภาภรณ์ท่านฝากมา
บัญญัติ 9 ประการ
ของบริษัท ซันสวีท จำกัด
แหล่งที่มา :
ศีล ๕ ข้อ คือ  การรักษาศีล5 เป็นพื้นฐานและเครื่องเตือนใจให้สำรวมระวังไม่ประมาทในการดำรงชีวิต
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

เพียงรู้จักว่าศีล ๕ ข้อมีอะไรบ้างเท่านั้น ยังไม่พอ ผู้รักษายังต้องรู้เลยไปถึงว่า ท่านวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างไรในการวินิจฉัยว่าทำอย่างไรแค่ไหนจึงล่วงศีล คือศีลขาด โดยใช้กฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยที่ท่านเรียกว่า องค์ของศีล เป็นเครื่องตัดสิน ถ้าครบองค์ของศีลข้อนั้นๆ ศีลข้อนั้นก็ขาด ถ้าไม่ครบองค์ที่วางไว้ ขาดไปหนึ่งหรือสองข้อ ถือว่าศีลไม่ขาด แต่ศีลก็เศร้าหมอง องค์ของศีลที่ท่านวางไว้จึงเป็นเครื่องเตือนใจให้สำรวมระวังไม่ประมาท
ศีลข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ
๑. *ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม ประกอบด้วย                    หลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
1. เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) 
2. กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) 
3. มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล) 
4. อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน) 
อิทธิบาท ๔
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นศัพท์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี ๔ ประการ คือ
• ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป 
• วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย 
• จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป 
• วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น 
 
 
บัญญัติ 9 ประการ
1. ไม่ประกอบอาชีพที่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น
2. ไม่ประกอบอาชีพที่มอมเมาให้คนขาดสติ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
3. ไม่ลักทรัพย์ ไม่ขโมยทรัพย์สินผู้อื่นแล้วถือเป็นของตน
4. ไม่พูดเท็จ ไม่พูดโกหก ไม่พูดจาส่อเสียด หรือให้ร้ายผู้อื่น
5. มีเมตตา กรุณา ช่วยเหลือ เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะแก่ผู้ด้อยโอกาส
6. มีมุทิตา มีความยินดี ไม่อิจฉาริษยาในความสุขหรือเมื่อผู้อื่นได้ดีกว่า
7. มีฉันทะ (ความพอใจ) และ วิริยะ (ความเพียร) รักในอาชีพที่ทำ และขยันอดทน เข้มแข็งไม่ท้อถอย
8. มีจิตตะ (ความคิด) วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) มีสติในสิ่งที่ทำตลอดเวลา ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญ หาเหตุผล แก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นไป
9. มีความสำรวมไม่ประพฤตผิดทางกาย วาจา ใจ และมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส
 
เสนอโดย :  สุภาภรณ์ ชัยสถาวรวงศ์
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556
 

Saturday, April 6, 2013

ค่าแรง300บาท

ค่าแรง300
ก้าวกระโดดกระทันหัน
40%ที่สูงขึ้น
ส่งผลให้หลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป
กระทบต่อการประกอบการ
ขึ้นนะควรขึ้นแต่ทยอยขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพื่อการปรับตัว
และเงินที่ขึ้นมันเงินของผู้ประกอบการ
เอาเงินบางส่วนรัฐมาร่วมด้วยสิ
ท้ังดีและด้อย
ส่วนเราส่วนตัวว่าดี
เพราะว่าตอนปี2515-2518
เราเป็นคนงานเป็นแรงงาน
เช้าตื่นมาเป็นเสี่ยวเอ้อหรือ office boy
ทำความสะอาดเก็บกวาดเช็ดถู
ล้างถ้วนล้างกระโถน
ต้มน้ำชงชารอให้เจ้านาย
เริ่ม05:30-06:30เริ่มงานรับใช้
ทำงานในโรงงาน07:30-17:30
วันๆก็ทำงานสิบกว่าชั่วโมงตลอดมา
เพราะมีOTบ่อยๆ
ค่าแรงเราได้วันละ8บาทเดือนละ240บาท
สองปีไม่สามารถซื้อกางเกงใหม่ได้
HARAไม่สามารถเอื้อมถึง
เงินทองไม่พอกินไม่พอใช้
เลี้ยงดูตัวเองและแม่พี่น้องไม่ได้
ราชการจะขึ้นเป็น12บาท
เราดีใจมากไชโย
ทั่วไปก็เหมือนวันนี้มีปัญหามีอุปสรรค
มาวันนี้มาเป็นเราทั้งสองด้าน
ต้องปรับตัวให้เป็นปัจจุบัน
และรองรับอนาคตอันใกล้
เมื่อ AEC 2015 กำลังจะมาถึง
เราต้องปรับตัวท้ังการบริหารจัดการ
และเทคโนโลยี่ที่ทำให้
ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
คุณภาพที่ดีึขึ้น
ต้นทุนที่ต่ำลง
ราคาให้สูงขึ้น
แน่จริงในฐานะที่เป็นผู้นำ
ต้องทำอย่างไรที่จะทำให้ทุกภาคส่วน
ดีใจและhappสุดๆ
เป็นหน้าที่และเลือกชีวิตมาเป็นเช่นนี้แล้วไง
ก็ต้องทำให้ก้าวข้ามไปให้ได้
ในทุกวิถีทาง

ทางแก้
ทำเงินบาทให้อ่อนลง
ค่าเป้าหมายอยู่ที่5-10%
จากปัจจุบัน30.75
ให้อ่อนเป็น31.50-33.50
หรือให้อยู่ในย่าน31-33บาทเฉลี่ยอยู่ที่32.00
จะช่วยได้เป็นอย่างดี
ถึงแม้น้ำมันนำเข้าและสินค้าทุนจะแพงขึ้น
แต่ค้าขายได้เมื่อมีเงินราคาไม่ใช่่ปัญหา
ประเทศไทยเรามีรายได้จากการส่งออกถึง70%
ค่าเงินบาทอ่อนดีกว่าแข็งแน่นอนครับท่านนักวิชาการ






Posted by องอาจ กิตติคุณชัย ongart kittikhunchai at Saturday, March 24, 2012