Sunday, December 15, 2013

บัญญัติsunsweet

เจ้าสุภาภรณ์ท่านฝากมา
บัญญัติ 9 ประการ
ของบริษัท ซันสวีท จำกัด
แหล่งที่มา :
ศีล ๕ ข้อ คือ  การรักษาศีล5 เป็นพื้นฐานและเครื่องเตือนใจให้สำรวมระวังไม่ประมาทในการดำรงชีวิต
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

เพียงรู้จักว่าศีล ๕ ข้อมีอะไรบ้างเท่านั้น ยังไม่พอ ผู้รักษายังต้องรู้เลยไปถึงว่า ท่านวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างไรในการวินิจฉัยว่าทำอย่างไรแค่ไหนจึงล่วงศีล คือศีลขาด โดยใช้กฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยที่ท่านเรียกว่า องค์ของศีล เป็นเครื่องตัดสิน ถ้าครบองค์ของศีลข้อนั้นๆ ศีลข้อนั้นก็ขาด ถ้าไม่ครบองค์ที่วางไว้ ขาดไปหนึ่งหรือสองข้อ ถือว่าศีลไม่ขาด แต่ศีลก็เศร้าหมอง องค์ของศีลที่ท่านวางไว้จึงเป็นเครื่องเตือนใจให้สำรวมระวังไม่ประมาท
ศีลข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ
๑. *ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม ประกอบด้วย                    หลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
1. เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) 
2. กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) 
3. มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล) 
4. อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน) 
อิทธิบาท ๔
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นศัพท์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี ๔ ประการ คือ
• ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป 
• วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย 
• จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป 
• วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น 
 
 
บัญญัติ 9 ประการ
1. ไม่ประกอบอาชีพที่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น
2. ไม่ประกอบอาชีพที่มอมเมาให้คนขาดสติ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
3. ไม่ลักทรัพย์ ไม่ขโมยทรัพย์สินผู้อื่นแล้วถือเป็นของตน
4. ไม่พูดเท็จ ไม่พูดโกหก ไม่พูดจาส่อเสียด หรือให้ร้ายผู้อื่น
5. มีเมตตา กรุณา ช่วยเหลือ เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะแก่ผู้ด้อยโอกาส
6. มีมุทิตา มีความยินดี ไม่อิจฉาริษยาในความสุขหรือเมื่อผู้อื่นได้ดีกว่า
7. มีฉันทะ (ความพอใจ) และ วิริยะ (ความเพียร) รักในอาชีพที่ทำ และขยันอดทน เข้มแข็งไม่ท้อถอย
8. มีจิตตะ (ความคิด) วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) มีสติในสิ่งที่ทำตลอดเวลา ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญ หาเหตุผล แก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นไป
9. มีความสำรวมไม่ประพฤตผิดทางกาย วาจา ใจ และมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส
 
เสนอโดย :  สุภาภรณ์ ชัยสถาวรวงศ์
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556
 

No comments: